พระเบญจภาคี นั้นหมายถึง พระสมเด็จวัดระฆัง ที่สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นผู้สร้าง รวมอีกทั้งพระสมเด็จที่หลวงพ่อท่านยังได้จัดสร้างไว้อีก 2 วัด คือวัดบางขุนพรหม และวัดเกศไชโย และนอกจากพระสมเด็จแล้ว ยังหมายถึงพระเนื้อดินทั้งสี่กรุได้แก่ พระรอดกรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน พระซุ้มกอ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมีขึ้นด้วยกันหลายกรุ หรือบางท่านจะจัดเอาเม็ดขนุนเข้ามาร่วมด้วย หรือแทนพระซุ้มกอก็ไม่เห็นผิด เพราะในสมัยคนรุ่นก่อนๆ กล่าวว่าหายากกว่าพระซุ้มกอเสียอีก และอันดับต่อไปคือพระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ถูกค้นพบในสมัยรัชการที่ 6 และพระนางพญา กรุวัดนางพญาจังหวัดพิษณุโลก ที่เริ่มรู้จักกันในสมัยรัชกาลที่5 ในครั้งที่เสด็จประพาส และรู้จักกันแพร่หลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งถ้ากล่าวถึงพระเบญจภาคีแล้ว เป็นที่ใฝ่ฝันปรารถนาของบรรดานักสะสมพระเครื่อง ไม่ว่าทั้งผู้เริ่มศึกษาใหม่หรือเก่า ซึ่งกล่าวกันว่ามีการเสาะหามาไว้สักการะบูชากัน ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษปู่ย่าตายายแล้ว หาใช่มีมาเพียงแค่ เมื่อสมัย50-60ปีนี้เท่านั้น อาจจะกล่าวได้ว่าหากันมาในทุกยุคทุกสมัย เพราะถ้านับอายุการสร้างในแต่ละองค์ คงมีอายุ4-5ร้อยปีจนถึงพันกว่าปีขึ้นไปคือพระรอด แต่ทั้งนี้ยกเว้นพระสมเด็จที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คือปลายๆรัชกาลที่4จนถึงรัชกาลที่5
แล้วถ้าถามว่าพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ ของพระเบญจภาคีในแต่ละองค์มีคุณวิเศษที่แตกต่างกันไปอย่างไร ถ้าอยากรู้ก็ต้องหามาสักการะบูชา โดยการตั้งจิตอฐิษฐาน เสี่ยงบุญบารมีให้ท่านมาโปรด ก็จะเข้าใจได้ด้วยตนเองว่า พระเบญจภาคีนั้นมีคุณวิเศษที่ครอบจักรวาล อันเป็นคุณให้ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต และคุ้มครองปกป้องรักษาเราได้อย่างไร
และในบางทีของหลักแสน จนถึงหลักหลายๆล้าน ก็อาจจะมาโปรดท่านก็ได้ ถ้าท่านเป็นคนที่ดีมีศีลธรรม ตั้งอยู่ในศีลในสัตย์ ไม่คิดเบียดเบียนใคร แล้วก็มีศรัทธาในองค์ท่านอย่างแรงกล้า ประกอบไปด้วยปัญญาในการศึกษา หมั่นจดจำตำหนิพิมพ์ทรงดูภาพให้ติดตา ซึ่งพระแท้ในแต่ละองค์ก็มีข้อตำหนิพิมพ์ทรงที่คล้ายคลึง หรืออาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยก็อาจเป็นได้ แต่ถ้าดูทุกวันๆ ก็จะจำได้เอง ขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และก็อาจจะสามารถแยกแยะเองได้ นี่คือปัญญาบารมีสะสม นำมาซึ่งความสำเร็จ และขอให้สมความปรารถนาของทุกท่านเทอญ.
เหรียญพระสงฆ์ ที่ได้รับความนิยมเทียบเท่า หรือสูงกว่าเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์ที่เคยจัดลำดับไว้ในอดีต เช่น เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา เหรียญหลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ และเหรียญสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นต้น
แต่มีเหรียญหนึ่งที่ถือว่าแพงสุดๆ ในบรรดาเหรียญพระสงฆ์ทั้งหมด และก็ไม่ได้จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์ด้วย เหรียญนั้นคือ เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุข หรือวัดเชิงเลน กทม. สร้างปี ๒๔๗๓ สันนิษฐานว่าสร้างไม่เกิน ๗๐ เหรียญ
ชื่อเสียงของ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน นั้นโด่งดังมาหลายทศวรรษแล้ว เพราะเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สร้าง พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ที่มากด้วยพุทธคุณ และ เหรียญรูปเหมือน มีค่านิยมสูงในวงการพระเครื่อง
นอกจากนี้ยังมีพระอรหัง กลีบบัวเคลือบ และไม่เคลือบ เครื่องราง เช่น ตะกรุด ผ้าประเจียด และรูปถ่าย แม้หลวงปู่ไข่ ไม่ได้มียศถาบรรดาศักดิ์ เป็นเพียงพระหลวงตาประจำวัด แต่การปฏิบัติ และกิตติคุณของท่าน เป็นที่เลื่องลือว่าทรงวิทยาวรคุณ เป็นพระวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง และมีคุณธรรมสูง เป็นที่ยอมรับในหมู่นักปฏิบัติธรรม
เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ นอกจากจะเป็นผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติแล้ว ท่านได้สร้างพระแจกให้ลูกศิษย์ และผู้ที่มานมัสการท่าน เพื่อนำไปบูชาให้เกิดสิริมงคลอีกด้วย ปรากฏว่าวัตถุมงคลที่ท่านแจกไปนั้น เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเด่นในด้านเมตตา คงกระพัน มหาอุด และดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง หลวงปู่ไข่ เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย มีจิตสุขุมเยือกเย็น ประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์ และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เป็นอันมาก
หลวงปู่ไข่เป็นพระที่สมถะใฝ่สันโดษ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิตย์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ไข่เจ็บไข้ได้ป่วยก็มาหา หลวงปู่ไข่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อยามาเสกให้กิน เมื่อมีเวลาว่าง หลวงปู่ไข่ก็ จะสร้างพระ ตะกรุด ธง และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์ ท่านมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๗๕ ด้วยวัย ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ นับถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นปีที่ ๗๗ แล้ว แต่ความเชื่อความศรัทธาในบารมีแห่งตัวท่าน ผ่านวัตถุมคลของท่าน ยังคงอยู่ในความทรงจำ และความรู้สึกของลูกศิษย์อยู่เสมอ
นายอรรถวัติ ศิริสิทธิธงไชย หรือ บอย ท่าพระจันทร์ ผู้เชียวชาญด้านเหรียญพระคณาจารย์ของสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย อธิบายให้ฟังว่า ปกติแล้ว ถ้าเป็นเหรียญวงรีรูปทรงไข่ การสร้างเหรียญตั้งแต่ปี ๒๔๖๐- ๒๔๘๐ ประมาณ ๙๘% จะเป็นเหรียญชนิดหูเชื่อม แต่ความพิเศษของเหรียญหลวงปู่รุ่นนี้ แม้จะสร้างในปี ๒๔๗๓ กลับเป็นเหรียญหูในตัว เข้าใจว่าจำนวนการสร้างที่น้อย ประมาณการว่ามีการสร้างเหรียญรุ่นนี้เพียง ๗๐ เหรียญเท่านั้น (สร้างตามอายุ)
ในกรณีการสร้างเหรียญปั๊มข้างกระบอก ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญที่มีการสร้างในหลักร้อยเหรียญขึ้นไปการผลิตเหรียญรุ่น นี้ เป็นเป็นเหรียญข้างเลื่อย ชนิดหูในตัว (เหรียญที่เลื่อยเผื่อหูสำหรับเจาะรูภายหลัง โดยเหรียญและหูเชื่อมทำมาพร้อมๆ กัน)
ใน อดีตนักเลงพระบอกต่อๆ กันมาว่า เป็นเหรียญหูเชื่อม (เหรียญกับหูเชื่อมทำคนละครั้ง มาเชื่อมต่อกันภายหลัง) สันนิษฐานว่า เซียนไม่อยากเปิดเผยจุดสำคัญ
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นได้ว่า เซียนต้องการซื้อเก็บไว้เอง ขณะเดียวกันอาจจะมีความรู้เรื่องเหรียญมากพอ ส่วนเหตุผลที่ทำให้เหรียญรุ่นนี้มีค่านิยมสูงมาตั้งแต่อดีตนั้น บอย ท่าพระจันทร์ บอกว่า เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดจากนักเลงพระยุคก่อนๆ ว่า “เป็นเหรียญในตำนาน ใครได้ครอบครองถือว่า เป็นสุดยอดของคนเล่นพระเหรียญ”
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่แปลกมาก แม้ว่าไม่มีใครกล่าวถึงประสบการณ์ การรวมทั้งการเช่าซื้อ ก็เกือบจะไม่มีข่าวในวงการเลย ครั้งสุดท้ายมีการเช่าซื้อกันเมื่อปลายปี ๒๕๕๑ ในราคาสูงถึง ๕ ล้านบาท ส่วนที่เช่ามาโดยตรงนั้น แม้ว่าเป็นเหรียญที่ผ่านการใช้งานมาชนิดที่เรียกว่ามองหรือแยกไม่ออกว่าเป็นเหรียญหลวงปู่ไข่ ราคาขายไปประมาณ ๓ แสนบาท
เหตุผลหนึ่งที่มีคนกล้าเช่าในราคาสูง เพราะถ้าเป็นคนเล่นเหรียญพันธุ์แท้ ต้องมีเหรียญหลวงปู่ไข่ด้วย"การ ทำปลอมนั้น มีทั้งหูในตัว หูเชื่อม แต่ฝีมือการทำปลอมยังห่างไกลมาก เพราะไม่มีเหรียญแท้ไปเป็นแบบ เรียกว่าเก๊ดูง่าย ตลอดเวลาที่อยู่ในวงการพระมานาน เคยเห็นเหรียญหลวงปู่ไข่ที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดพระเครื่อง และหนังสือพระเพียง ๔ เหรียญเท่านั้น
นอกจากเหรียญหลวงปู่ไข่ รุ่นแรก ซึ่งเป็นรุ่นเดียวนั้น ยังมี พระปิดตาหลวงปู่ไข่ ที่มีการแสวงหาในหลักล้านบาท แต่ก็เป็นเรื่องแปลก สำหรับ พระอรหังกลีบบัวหลวงปู่ไข่ ค่านิยมอยู่ในหลักพันปลายๆ เท่านั้น เข้าใจว่าจำนวนการสร้างมีมากนั่นเอง" บอย ท่าพระจันทร์ กล่าว
ด้าน นายพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย บอกว่า จริงๆ แล้วเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก แพงทุกองค์ คือ
๑.พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเคลือวัลย์ จ.ชลบุรี ๒.พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี ๓.พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) กทม. ๔.พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี และ ๕.พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ. ฉะเชิงเทรา
หลวงปู่ไข่ท่าน เป็นพระที่สมถะ รักสันโดษ มีความเมตตาต่อสานุศิษย์ทุกคน แม้กระทั่งเหล่าเจ้าขุนมุลนายในสมัยนั้น ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับท่าน เหตุที่พระปิดตาหลวงปู่ไข่ได้สร้างไว้น้อยมาก และหายากมากตั้งเล่นพระมากก่า ๓๐ ปี มีพระปิดตาหลวงปู่ไข่ผ่านมือไม่เกิน ๑๐ องค์ โดยล่าสุดได้เช่ามาในราคากว่า ๒ ล้านบาท ส่วนพุทธคุณของพระปิดตาหลวงปู่ไข่ นั้นเมตตามหานิยม โชคลาภ และคล้วคลาด
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเหรียญหลวงปู่ไข่ และพระปิดตาหลวงปู่ไข่ จะขึ้นชื่อว่าสุดยอดของความแพง คืออยู่ในหลักล้านบาท แต่ยังมีพระดีราคาถูก ที่มีพุทธคุณไม่แพ้กัน คือ พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งเป็นเหรียญที่หลวงปู่ไข่สร้างไว้เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๗๐ ซึ่งสร้างพระกลีบบัวอรหังไว้แจกโดยตรง เป็นว่าพระใช้งาน จำนวนมากหน่อย ปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนัก สวยๆ ก็อยู่ที่หลักหมื่น แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในหลักพันเท่านั้น
ที่มาhttp://board.palungjit.com/f128/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94-201674.html
10 เหรียญพระเกจิยอดนิยม
เหรียญ
พระเกจิพระคณาจารย์ที่เป็นสุดยอดในใจของบรรดานักสะสมในห้วงนี้
ที่ถามไถ่กันมาก ในที่สุดก็มีผลสรุปเป็น 10 เหรียญยอดนิยม ดังนี้
เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
“เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง” ดังมาก ได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งวัตถุมงคล ประเภท เหรียญ ค่านิยมเทียบชั้นพระสมเด็จวัดระฆังฯ ทั้งด้านความสวยงามของเนื้อหาพิมพ์ทรงองค์พระพุทธคุณและสนน ราคาสูงมาก บางครั้งพกเงินมาหาซื้อเป็นล้าน ยังหาเช่าบูชาไม่ได้ มรณภาพเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2469 สิริอายุ 94 ปี พรรษา 72
1-เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
“พระ ครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี” หรือ “หลวงพ่อแช่ม” วัดไชยธาราราม
(ฉลอง) อ.เมือง จ.ภูเก็ต ท่านเกิดเมื่อปี 2370
ชื่อเสียงของท่านปรากฏชัดในคราวเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน “ปราบอั้งยี่”
ด้วยการทำ “ผ้าประเจียด” แจกโพกศีรษะชาวบ้าน
เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการต่อสู้จนได้รับชัยชนะในที่สุดพระเครื่องและวัตถุมงคลของ หลวงพ่อแช่ม พุทธคุณเด่นในด้านเมตตามหานิยม เดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย อาทิ เหรียญพิมพ์สี่เหลี่ยมที่ท่านสร้างขึ้น เมื่อปี 2473 เหรียญปี 2497 เป็นเหรียญเนื้อเงินลงยา และเหรียญหลวงพ่อแช่มไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ บล็อกยันต์โค้ง ปี 2512 เนื้อทอง แดง รูปหล่อลอยองค์ขนาดเล็ก 2 รุ่น ขนาด 3 นิ้ว นั่งถือพัดยศ สร้างประมาณปี 2520-2529 เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อแช่ม ปัจจุบันสนนราคาเล่นหาสูงมาก มรณภาพเมื่อปี 2451 สิริอายุ 81 ปี พรรษา 61
2-เหรียญหลวงพ่อหมุน วัดบ้านจาน
“หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล” วัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เกิดเมื่อปี 2437 ปัจจุบันพระเครื่องและเครื่องรางของขลังของท่านได้รับความนิยมอย่างมากใน หมู่ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมพระเครื่องทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ปี 2541 หลวงปู่หมุนจึงยอมให้พระอาจารย์จ่อยและพระอาจารย์ขวัญและคณะศิษย์จากวัดป่า หนองหล่ม จัดทำพระเครื่อง “เหรียญไตรมาส” หรือเรียกกันติดปากว่า “เหรียญเลข 1″ ออกมาเป็นรุ่นแรก
ต่อมามีผู้ประสบความมหัศจรรย์เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคลของ หลวงปู่หมุน จึงได้ก่อสร้างกุฏิถวายท่าน และอาราธนาให้ท่านมาจำพรรษาที่วัดป่าหนองหล่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เมื่อปี 2542 จากนั้นท่านจึงกลับมาจำวัดยังวัดบ้านจาน จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิด มรณภาพเมื่อปี 2546 สิริอายุ 109 ปี พรรษา 86
3- เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ
“หลวงพ่อกลั่น ธัมมโชติ” อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง จ.พระนครศรีอยุธยา
ท่านเป็นชาวเมืองกรุงเก่าอยุธยาโดยกำเนิด เกิดประมาณปี 2390 อายุอ่อนกว่าหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ราว 5 ปี ปัจจุบันพระเครื่องหลวง พ่อกลั่น เหรียญรุ่นแรกปี 2469 เรียกว่า “เหรียญเสมา พิมพ์หลังขอเบ็ด” สนนราคาเล่นหาว่ากันที่หลักล้าน ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2477 สิริอายุ 87 ปี พรรษา 60
4-เหรียญหลวงพ่อพร วัดดอนเมือง
“หลวงพ่อพร พุทธสโร” วัดดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ท่านเกิดเมื่อปี 2412 ปัจจุบันเหรียญของท่านได้รับความนิยมในวงการพระเครื่องสูงมาก รวมถึงวัตถุมงคล อื่นๆ ด้วยวัตถุมงคล ที่ หลวงพ่อพรได้สร้างไว้ ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ช่วงแรกเป็น “พระพิมพ์สมเด็จ” มีทั้งประเภทพิมพ์ 3, 5, 7 ชั้น และพิมพ์เล็บมือ สร้างประมาณปี 2458 ด้วย เป็นพระเครื่องเนื้อ ผงแก่น้ำมัน ออกสีเขียวอมเหลือง เมื่อสร้างเสร็จได้นำเข้าบรรจุไว้ใต้ฐานพระประธานในพระอุโบสถ เคยนำออกมาจ่ายแจกช่วงสงครามอินโดจีน และสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงเมื่อปี 2508
สำหรับพระเครื่องและวัตถุมงคลรุ่น ที่นิยมแพร่หลายมากที่สุดก็คือ “เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก” ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นรุ่นเดียวที่สร้างขึ้น เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคปัจจัยสร้างโบสถ์ เมื่อประมาณปี 2460-2465 เป็นเหรียญหลักของย่านหลักสี่-ดอนเมือง ที่คนท้องถิ่นหวงแหนยิ่งนัก เพราะสร้างจำนวนน้อย แถมมีประสบการณ์ดีทั้งด้านแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ค้าขายร่ำรวย โชคลาภเป็นเยี่ยม มรณภาพเมื่อปี 2484 สิริอายุ 72 ปี พรรษา 40
“หลวงพ่อจง พุทธสโร” วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านเกิดเมื่อปี 2415 เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแก่กล้าในพลังจิตพุทธาคม ในยุคสงครามอินโดจีน โดยที่มีชื่อเรียกกันติดปากว่า 4 รูปด้วยกัน “จาด-จง-คง-อี๋”
“หลวงพ่อจง” ได้สร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลไว้ มากมายหลายอย่างและได้สร้างแจกทหาร ตำรวจ ในสงครามอินโดจีน ในช่วงปี 2483-2485 เป็นต้นมา เช่น เสื้อยันต์แดง ตะกรุดชุดจนทำให้ทหารที่รอดชีวิตมา ต่างพูดเสียงเดียวกันว่า วัตถุมงคล ของหลวงพ่อจงสุดยอดจริงๆ
สำหรับ เหรียญหลวงพ่อจงรุ่นแรก สร้างเมื่อปี 2484 เพื่อแจกลูกศิษย์ในการร่วมสร้างหอสวดมนต์ เหรียญรุ่นนี้ปัจจุบันหายาก สนนราคาเล่นหาสูงมาก ของปลอมระบาดหนัก มรณภาพ เมื่อปี 2508 สิริอายุ 93 ปี พรรษา 73
6-เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
“หลวง ปู่ฝั้น อาจาโร” วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ท่านเกิดเมื่อปี 2442 วัตถุมงคลของท่านปัจจุบันมีอยู่มากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นพระเครื่องและวัตถุมงคลที่ ลูกศิษย์ลูกหามาขออนุญาตจัดสร้างเพื่อแจกจ่าย เป็นที่ระลึกและติดตัวไว้กราบไหว้บูชา อาทิ เหรียญ, พระกริ่ง, พระบูชา, รูปหล่อ และพระชัยวัฒน์ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมและต้องการแสวงหาของพุทธศาสนิกชนและแวดวงผู้นิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์
สนนราคา เช่าหาก็ค่อนข้างสูงเอาการ อีกทั้งหาดูหาเช่ายากพอสมควรทีเดียว เนื่องจากผู้ที่มีไว้บูชาต่างหวงแหนและเก็บรักษาไว้เป็นมรดกสืบทอดต่อรุ่น ลูกรุ่นหลาน มรณภาพเมื่อปี 2520 สิริอายุ 78 ปี พรรษา 58
7-เหรียญลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
“หลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร” วัดกำแพง กรุงเทพมหานคร ท่านเกิดเมื่อปี 2403 ปัจจุบันนักสะสมหลายท่านเชื่อว่าพระเครื่องและวัตถุมงคลของ วัดแห่งนี้ ถ้าได้ “กำอยู่ในมือ” เมื่อไรเป็น “แพง” สมกับชื่อ “วัดกำแพง” โดยแท้ โดยเฉพาะ “เหรียญหล่อโบราณ ปี 2478″ สนนราคาเล่นหาสภาพสวยๆ ติดเพดานหลักแสนหลักล้าน
“วัดกำแพง” ในยุคของหลวงพ่อไปล่นั้น ทุกวันคราคร่ำไปด้วยคณะศรัทธามากราบขอพรและขอวัตถุมงคล ของ ท่านเป็นไปบูชาอา ธานาติดตัว ด้วยความเมตตาที่มากล้น ท่านไม่เคยปฏิเสธเรื่องกิจนิมนต์เลย ใกล้ไกลขนาดไหนก็ไป มรณภาพ เมื่อปี 2482 สิริอายุ 79 ปี พรรษา 56
8-เหรียญหลวงพ่อผิว วัดสง่างาม
พระครูสีลวิสุทธาจารย์ หรือหลวงพ่อผิว สีลวิสุทโธ วัดสง่างาม จังหวัดปราจีนบุรี ท่านเกิดเมื่อปี 2435 วัตถุมงคลล้วนเป็นที่สนใจของบรรดานักสะสม เพราะท่านสร้างได้ขลังจริง มีประสบการณ์ดีทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มหาอุด คงกระพันชาตรี
พระเครื่องและวัตถุมงคลส่วน ใหญ่จะเป็นประเภท “เหรียญ” ซึ่งมีอยู่หลายรุ่นด้วยกัน อาทิ เหรียญพิมพ์รูปไข่รุ่นแรกปี 2502, รุ่น 2 ปี 2512, รุ่น 3 ปี 2515 ที่ระลึกครบ 80 ปี, รุ่น 4 ปี 2517 รูปอาร์ม, รุ่น 5 ปี 2519 รูปหยดน้ำ นอกนั้นก็มีพระสมเด็จเนื้อว่านรุ่นแรก ปี 2502 หลังปั๊มรูปเหรียญรุ่นแรก, พระสมเด็จ 9 ชั้น, รูปหล่อปั๊มรุ่นแรก ปี 2515, แหนบลงยา, ล็อกเกตภาพสี เป็นต้น
สำหรับเหรียญบางรุ่นนักสะสมพระเครื่องยัง พอหาบูชาได้ในราคาไม่สูงมากนัก แต่ถ้าเป็นเหรียญพิมพ์รูปไข่รุ่นแรก สร้างปี 2502 เนื้อทองแดง กะไหล่ทอง สนนราคาเล่นหาคงต้องว่ากันที่หลักหมื่นขึ้น เพราะค่อนข้างหายาก ลูกศิษย์ลูกหาและคนในพื้นที่ที่มีไว้ในครอบครองต่างหวงแหนยิ่งนัก มรณภาพเมื่อปี 2528 สิริอายุ 93 ปี พรรษา 72
9-เหรียญหลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง
“หลวง ปู่หลิว ปัณณโก” วัดไร่แตงทอง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ท่านเกิดเมื่อปี 2448 เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองนี้ ซึ่งมี “ของดี” รู้จักกันทั่วประเทศคือ “เหรียญพญาเต่าเรือน” ปัจจุบันนักสะสมพระเครื่องและวัตถุมงคลสายตรงนิยมเล่นหาอย่างมาก
พระเครื่องของ หลวงปู่หลิว เริ่มสร้างประมาณปี 2500 ที่วัดสนามแย้ ในยุคแรกๆ จะเป็นพระประเภทเนื้อผงเป็นส่วนใหญ่ โดยเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกออกที่วัดนี้ในปี 2505 วัตถุมงคลของท่านมีหลายรูปแบบทั้งเหรียญ, รูปหล่อลอยองค์, พระบูชา, พระสังกัจจายน์, พระปิดตา ส่วนเครื่องรางของขลังก็มี เช่น ตะกรุดคาดเอว, จิ้งจกสองหาง, กัณหาชาลี, ล็อกเกต เป็นต้น มรณภาพเมื่อปี 2543 สิริอายุ 95 ปี พรรษา 74
ที่มา ข่าวสด
รูปหล่อหลวงพ่อเงิน...หายากที่สุดในโลก
ประวัติ (เท่าที่พบบันทึก และจากคำบอกเล่าของสามเณรสมัยหลวงพ่อเงิน)
รูป หล่อนี้มีบันทึกใน ประวัติหลวงพ่อเงิน ซึ่งทางวัดจัดพิมพ์ตอนหนึ่งว่า "พุทธลักษณะพระของ หลวงพ่อเงินบางคลาน วัดหิรัญญาราม(วังตะโก) ต.บางคลาน อ.โพทะเล จ.พิจิตร มีลักษณะเป็นรูปพระสงฆ์นั่งแสดงสมาธิแบบรูปลอยองค์ ซึ่งจำลองมาจากรูปหล่อเนื้อโลหะองค์ใหญ่ประจำวัด เป็น เนื้อทองผสม พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน นี้ มีขนาดเขื่องกว่า รูปหล่อพิม์นิยม และ พิมพ์ขี้ตา อยู่อีกแบบหนึ่ง หน้าตักกว้างถึงประมาณ 1 นิ้ว มีทั้งภายในบรรจุเม็ดกริ่ง เขย่าแล้วเกิดเสียงดัง และใต้ฐานคว้านกว้างบรรจุผง ซึ่งสำเร็จจากการเขียนอักขระเลขยันต์อันวิเศษ และวัตถุมงคลอาถรรพณ์" จากการเรียนถาม ลุงแปลก สุขนันท์ ทราบว่า พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินขนาดใหญ่หน้าตัก 1 นิ้วนั้น หลวงพ่อเงินท่านได้เดินทางเข้าไปในป่าลึก เพื่อแสวงหา แร่อาถรรพณ์ เช่น ขี้เหล็กไหล และ เหล็กน้ำพี้ เป็นต้น การเทหล่อพระพิมพ์ขนาดเขื่องนี้ น่าจะเทครั้งละ 1 องค์ แบบเบ้า 6 และมีจำนวนไม่มากนัก เนื้อของแต่ละองค์จึงไม่เหมือนกัน แบบเทเป็นช่อ บางองค์เนื้อเป็น ทองดอกบวบ แบบพิมพ์นิยม แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย ที่เป็นสำริดเงิน(ภาพที่แนบมา เป็นเนื้อสำริดเงิน)
หลวงพ่อเงิน รูปหล่อหลวงพ่อเงิน ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.ph...up=10&gblog=11
__________________ประวัติ (เท่าที่พบบันทึก และจากคำบอกเล่าของสามเณรสมัยหลวงพ่อเงิน)
รูป หล่อนี้มีบันทึกใน ประวัติหลวงพ่อเงิน ซึ่งทางวัดจัดพิมพ์ตอนหนึ่งว่า "พุทธลักษณะพระของ หลวงพ่อเงินบางคลาน วัดหิรัญญาราม(วังตะโก) ต.บางคลาน อ.โพทะเล จ.พิจิตร มีลักษณะเป็นรูปพระสงฆ์นั่งแสดงสมาธิแบบรูปลอยองค์ ซึ่งจำลองมาจากรูปหล่อเนื้อโลหะองค์ใหญ่ประจำวัด เป็น เนื้อทองผสม พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน นี้ มีขนาดเขื่องกว่า รูปหล่อพิม์นิยม และ พิมพ์ขี้ตา อยู่อีกแบบหนึ่ง หน้าตักกว้างถึงประมาณ 1 นิ้ว มีทั้งภายในบรรจุเม็ดกริ่ง เขย่าแล้วเกิดเสียงดัง และใต้ฐานคว้านกว้างบรรจุผง ซึ่งสำเร็จจากการเขียนอักขระเลขยันต์อันวิเศษ และวัตถุมงคลอาถรรพณ์" จากการเรียนถาม ลุงแปลก สุขนันท์ ทราบว่า พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินขนาดใหญ่หน้าตัก 1 นิ้วนั้น หลวงพ่อเงินท่านได้เดินทางเข้าไปในป่าลึก เพื่อแสวงหา แร่อาถรรพณ์ เช่น ขี้เหล็กไหล และ เหล็กน้ำพี้ เป็นต้น การเทหล่อพระพิมพ์ขนาดเขื่องนี้ น่าจะเทครั้งละ 1 องค์ แบบเบ้า 6 และมีจำนวนไม่มากนัก เนื้อของแต่ละองค์จึงไม่เหมือนกัน แบบเทเป็นช่อ บางองค์เนื้อเป็น ทองดอกบวบ แบบพิมพ์นิยม แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย ที่เป็นสำริดเงิน(ภาพที่แนบมา เป็นเนื้อสำริดเงิน)
หลวงพ่อเงิน รูปหล่อหลวงพ่อเงิน
http://board.palungjit.com/f105/334572.html#post5977948
เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
ที่มาhttp://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2011/07/J10854014/J10854014.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น